คณะผู้บริหาร

  

 

 

 ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลาง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
 สำนักงานเทศบาล 043-811671-3

 

 


ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไรความหมายของภาษีโรงเรือนและที่ดินมีดังนี้ 

คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายความถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต อาพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามม้า สนามมวย คลังสินค้า เรือนแพ ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง สิ่งปลูกสร้างอื่น ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร เช่น ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น และบริเวณต่อเนื่องซึ่งใช้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ดิน หมายความรวมถึง ทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วย 

ดังนั้นลักษณะของที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก็คือ ทรัพย์สินต่างๆได้หาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำ ไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม

ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่  ประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ กับที่ดินต่อเนื่องซึ่งใช้ปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำ ไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

(1) โรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ

(2) ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าเป็นที่ดินซึ่งใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ และที่ดินอันเป็นบริเวณต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติ ใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ 

ทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน? 

ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่ 

(1) พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน

(2) ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง

(3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา

(4) ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์ 

(5) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน

(6) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เองโดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2535 ยกเว้นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นที่ต่อเนื่อง

3.ไม่ชำระเงินภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2 %ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนในนับเป็นหนึ่งเดือน

4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท

5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่รับโอนต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท

6. ผู้ใดไม่แสดงชื่อ -ที่อยู่ เจ้าของป้ายอักษรไทย ให้ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้ายซึ่งติดตั้งบน อสังหาริมทรัพย ์ของผู้อื่นและมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องระวางโทษปรับวันละ100บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด

7. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำ เท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็น เท็จหรือนำพยานหรือหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือ โฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนและสลักจารึก หรือ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้าย

ระยะเวลาการชำระภาษี คือ มกราคม – มีนาคม ของทุกปี

อัตราภาษี

1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น ๆ คิด อัตรา 20บาท ต่อ 500 ตร.ซม

3.ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่

- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ

4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 200บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท

การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี

1.เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบแสดงรายการภาษีตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือนมีนาคมของทุกปี โดยเสียเป็นรายปียกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน15 วัน และให้เสียภาษีตั้งแต่เริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงสิ้นปี และเสียภาษีป้ายเป็นงวด ๆ ละ 3 เดือนของปี

2.ชำระภาษีป้ายภาพใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่

3.ถ้าภาษีเกิน 3,000 บาท จะขอผ่านชำระเป็นสามงวดเท่า ๆ กันก็ได้

การอุทรณ์

ถ้าผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

อัตราโทษและค่าปรับ

1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี

2.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม

ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินระยะเวลาการชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปี

 

อัตราภาษี

- จะต้องเสียตามราคาปานกลางของที่ดินมีหลายอัตราขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่โดยตรง

 

- ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์จำต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ

 

การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่

 

- ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ไปยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน ( แบบ ภ.บ.ท. 5) ที่งานจัดเก็บรายได้เทศบาลและชำระภาษีภายในเดือน มกราคม - เมษายน ของทุกปี

 

- กรณีเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดิน เจ้าของที่ดินจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง

 

หลักฐานที่ต้องนำไป

 

- สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก

 

การลดหย่อน และการยกเว้นภาษีบำรุงท้องถิ่นที่ดินแปลงที่เจ้าของบ้านอยู่อาศัยโดยไม่ทำการค้าหรือให้เช่าแต่อย่างใดทั้งสิ้น ลดหย่อนได้ 1 ไร่ส่วนเกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด ที่ดินที่เจ้าของปลูกบ้านให้เช่าหรือปลูกบ้านทำการค้าและได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่

 

บทกำหนดโทษ

 

-ผู้ใดจงใจไม่มายื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5)หรือ ไม่ยอมชี้แจงหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

 

-ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ-ผู้ใดไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่

Login Form

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

6228980
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1036
5850
10743
6206322
55911
78828
6228980

Your IP: 18.226.150.175
Server Time: 2024-04-24 08:48:49

ติดต่อเรา

กด Like ให้ผมด้วยครับ

Template Settings

Color

For each color, the params below will give default values
Blue Red Oranges Green Purple Pink

Body

Background Color
Text Color

Header

Background Color

Footer

Select menu
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Direction