การระวางชี้แนวเขต

  

 

 

 ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลาง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
 สำนักงานเทศบาล 043-811671-3

 

การระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

 พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456มาตรา 120  ให้เจ้าท่ามีหน้าที่ดูแล รักษาและขุดลอกร่องน้ำ ทางเรือเดิน แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบและทะเลภายในน่านน้ำไทยมาตรา 117  ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำของแม่น้ำ  ลำคลอง  บึง  อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบอันเป็นทางสัญจรของประชาชน  หรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเล เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/266“ที่ชายตลิ่ง” ที่ดินที่อยู่ติดกับแม่น้ำ  ลำคลอง  ทะเลสาบหรือทะเล   ซึ่งในฤดูน้ำตามปกติน้ำท่วมถึง   โดยลักษณะของที่ชายตลิ่งคือที่ดินที่อยู่ระหว่างจุดสูงสุดที่น้ำขึ้นตามปกติและจุดต่ำสุดที่น้ำลงตามปกติ

-  ระเบียบกรมเจ้าท่า  

ว่าด้วยการระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน พ.ศ.2538

 

-  ที่ดินมีโฉนด

 

-  การพิจารณาแนวฝั่ง

 

-  แม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ     แนวน้ำขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึง

 

-  ทะเลไม่มีชายหาด                                     แนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึง

 

-  ทะเลมีชายหาด                                         แนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึงหรือไม่ก็ได้

 

-  เมื่อช่างรังวัดปูโฉนดและเจ้าของที่ดินนำชี้หลักเขตที่ดิน

 

-  กรณีอยู่ตรงแนวฝั่งลำน้ำไม่ล้ำลงไปในลำน้ำและที่ดินข้างเคียงไม่คัดค้านให้ถือเป็นแนวระวังชี้แนวเขต

 

-  กรณีอยู่ไม่ถึงแนวฝั่ง  ให้แจ้งให้ช่างรังวัดทราบว่าแนวเขตที่ดินไม่ติดลำน้ำสาธารณะไม่อยู่ในอำนาหน้าที่ของเจ้าท่า

 

-  กรณีไม่พบหลักเขตที่ดินริมฝั่งให้สอบเขตจากหลักเขตที่ดินด้านบนลงมา

 

-  กรณีล้ำลงไปในลำน้ำสาธารณะ

 

-  หากมีการหวงกันแนวเขตที่ดิน  ไม่ปล่อยให้เป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงอยู่

 

-  หากไม่มีการหวงกันโดยปล่อยให้เป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้แจ้งให้ช่างรังวัดร่นหลักเขตขึ้นมาบนฝั่ง   หากเจ้าของที่ดินยินยอม  และที่ดินข้างเคียงไม่คัดค้านให้ปักหลักเขตใหม่บนแนวฝั่ง

 

  (การพิจารณาเรื่องการหวงกันแนวเขตที่ดินต้องพิจารณาจากแนวคำพิพากษาและข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่เป็นเรือง ๆ ไป)

 

-  ที่ดินมีเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เช่น นส.3 นส.3ก.

 

-  ให้ระวังชี้ ฯ ตามสิทธิครอบครองเดิมเป็นหลักโดยไม่เกินแนวเขตเดิม

 

-  ที่ดินมีการครอบครองและทำประโยชน์แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์

 

-  ระวังชี้ ฯ ตามสิทธิครอบครองและทำประโยชน์แล้ว

 

-  กรณีรังวัดแล้วล้ำลงไปในลำน้ำสาธารณะ ให้ตกเป็นที่สาธารณะทุกกรณี

 

-  ที่งอก

 

-  ป.พ.พ.มาตรา1308  ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง  ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น

 

-  หากเจ้าของทีดินประสงค์จะออกเอกสารสิทธิ์ในที่งอกให้ยื่นเรื่องต่อที่ดินจังหวัดเพื่อตั้งคณะกรรมการจังหวัดพิจารณาการออกที่งอก

 

-  การหวงกันแนวเขตที่ดิน

 

-  ฎีกาที่ ๓๕๓ - ๓๖๐/๒๕๐๗  ได้วินิจฉัยว่า เจ้าของที่ดินปลูกอาคารลงในที่ดินของตน ต่อมาน้ำในลำน้ำนั้นเซาะที่ดินภายใต้อาคารพังลงจนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่ง   แต่เจ้าของที่ดินนั้นยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของครอบครองอาคารและที่ดินในเขตของตนอยู่โดยมิได้ทอดทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ต้องถือว่าที่ชายตลิ่งที่พิพาทกันนั้นยังไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

-  ฎีกาที่ ๔๗๘๒/๒๕๓๓  ได้วินิจฉัยว่า การที่บริษัท กรุงเทพค้าข้าว จำกัด และบริษัท แสนเจริญ จำกัด  ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้นำหินไปทิ้งในส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อกันตลิ่งพังจึงถือว่าบริษัทฯ ยังคงสงวนสิทธิและครอบครองที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

-  ฎีกาที่ ๓๐๙๓/๒๕๒๓  ได้วินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทยังเป็นของโจทก์กับพวกอยู่ แม้น้ำจะเซาะที่ดินโจทก์กับพวกตรงที่พิพาท จนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งไปแล้วก็ตามแต่โจทก์กับพวกก็ยังใช้สิทธิเป็นเจ้าของโดยใช้เป็นทางเข้าออกอยู่  มิได้ทอดทิ้งให้เป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่พิพาทจึงไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน

 

-  ข้อหารือของกฤษฎีกา เรื่อง  สถานะทางกฎหมายของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิซึ่งถูกน้ำกัดเซาะและภายหลังได้มีการทับถมของที่ดินขึ้นใหม่ (เรื่องเสร็จที่ 961/2547)เมื่อที่ดินบริเวณที่ถูกน้ำกัดเซาะต่อมาในปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพเป็นชายฝั่งของทะเล   การจะพิจารณาถึงสถานะทางกฎหมายของที่ดินบริเวณดังกล่าวว่าเป็นที่ดินประเภทใดยังมีความแตกต่างและไม่อาจถือเป็นที่ยุติได้  ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีไปว่าสภาพที่ดินในแต่ละแปลงเป็นอย่างไรและเจ้าของที่ดินมีการใช้ประโยชน์หรือแสดงการหวงกันไว้หรือไม่  ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์อยู่นั้น แม้ภายหลังที่ดินดังกล่าวได้ถูกน้ำกัดเซาะหรือพังลงน้ำทำให้แนวเขตที่ดินเปลี่ยนไป  แต่เจ้าของที่ดินยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของโดยการหวงกันหรือสงวนสิทธิในการครอบครองที่ดินของตนอยู่โดยมิได้ทอดทิ้งปล่อยให้เป็นทางน้ำหรือทางสาธารณะ  ต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน

ในทางกลับกันหากเจ้าของที่ดินมิได้ใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของโดยการหวงกันหรือสงวนสิทธิในการครอบครองหรือยินยอมให้ตัดที่ดินที่พังลงน้ำนั้นออกจากโฉนด   ก็ต้องถือว่าที่ดินนั้นได้กลายสภาพมาเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว   ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อไป

กล่าวโดยสรุป ที่ดินบริเวณที่มีการร้องเรียนจะมีสถานะทางกฎหมายเช่นใดนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าเจ้าของที่ดินแต่ละรายได้แสดงสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของหรือมีการหวงกันมิได้ปล่อยทิ้งที่ดินจนกลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่  ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจนเพื่อดำเนินการตามหลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นรายกรณีไป

 

-  หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร0601/266

 

-  กรณีแหล่งน้ำสาธารณะตื้นเขินทั้งหมดหรือบางส่วน  ตามธรรมชาติหรือเกิดจากการสร้างเขื่อนทำให้เกิดที่ดินริมแหล่งน้ำสาธารณะที่ น้ำท่วมไม่ถึงอีกต่อไปย่อมพ้นสภาพจากการเป็น “ที่ชายตลิ่ง” และไม่อยู่ในความรับผิดชอบกรมเจ้าท่าอีกต่อไป การปลูกสร้างสิ่งล้วงลำล้ำน้ำในที่ดินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับต้องขออนุญาต หรือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การเดินเรือฯ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนสภาพก็ยังคงเป็นสาธารณะแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่ และอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของนายอำเภอ

 

-  ปัญหาในทางปฏิบัติ

 

-  น้ำท่วมถึงตามปกติแค่ไหน  พิจารณาจากอะไร

 

-  อย่างไรคือการ “หวงกัน” หรือ “สงวนสิทธิครอบครอง”

 

 “ที่งอก”  จะดำเนินการอย่างไร

 

-  แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ

 

-  หารือ สคก. ให้ทบทวนการพิจารณาข้อหารือกรณีที่ดินริมแหล่งน้ำสาธารณะตื้นเขินแล้วพ้นสภาพจากการเป็นที่ชายตลิ่งอันไม่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าท่า  ตามหนังสือ ที่ นร0601/266

 

-  แก้ไขระเบียบกรมเจ้าท่า  ว่าด้วยการระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน

Login Form

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

6215350
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
1036
3833
9028
6189604
42281
78828
6215350

Your IP: 52.14.85.76
Server Time: 2024-04-19 12:40:09

ติดต่อเรา

กด Like ให้ผมด้วยครับ

Template Settings

Color

For each color, the params below will give default values
Blue Red Oranges Green Purple Pink

Body

Background Color
Text Color

Header

Background Color

Footer

Select menu
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Direction