Content Category 3

  

 

 

 ที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลาง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
 สำนักงานเทศบาล 043-811671-3

 

 

เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้งการเกิด

* คนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด

* คนเกิดนอกบ้าน

ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่

ที่จะพึงแจ้งได้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้ง

ภายหลังได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันเกิด

 

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง

3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)]

ขั้นตอนในการติดต่อ

1.ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด

2.นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตรแล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้านและ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน แล้วมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับ ผู้แจ้ง

 

การแจ้งเกิดเกินกำหนด หลักเกณฑ์

เป็นการแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ (15 วัน) ตามกฎหมาย

มีบทกำหนดโทษ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท

 

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

    1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

    2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)

    3. พยานบุคคลที่ให้การรับรอง และบัตรประจำตัวประชาชน

    4. รูปถ่ายของบุคคลที่ขอแจ้งการเกิด 1 รูป (กรณีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์)

    5. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)

 

ขั้นตอนในการติดต่อ

    1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิด

    2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดีความผิดและสอบสวนผู้แจ้ง บิดามารดา

        ให้ทราบสาเหตุ ที่ไม่แจ้งการเกิดภายในกำหนด ในกรณีบิดาหรือมารดาไม่อาจมาให้ถ้อยคำใน

        การสอบสวนได้ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด นายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้

    3. นายทะเบียนนำเสนอนายอำเภอแห่งท้องที่พิจารณาอนุมัติออกสูติบัตร และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

 

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
เอกสารการทะเบียนราษฎร ได้แก่ ทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สูติบัตร และทะเบียนคนเกิด มรณบัตร และทะเบียนคนตาย ใบแจ้งการย้ายที่อยู่เอกสารการทะเบียนราษฎรที่นายทะเบียนมอบให้ประชาชนเก็บรักษาและใช้เป็นหลักฐาน คือ สูติบัตร มรณบัตร สำเนา ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

หลักเกณฑ์
เอกสารการทะเบียนราษฎร ที่นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียน จัดทำขึ้นหากจำเป็น ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใหม่ จะเป็นเพราะเขียนผิดหรือผิดพลาดเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม จะลบ ขูด หรือทำด้วย ประการใด ๆ ให้เลือนหายไปไม่ได้ แต่ให้ใช้วิธีขีดฆ่าคำหรือข้อความเดิม แล้วเขียนคำหรือข้อความที่ถูกต้องแทน ด้วยหมึกสีแดง พร้อมทั้งลงชื่อนายทะเบียนและวันเดือนปี กำกับไว้

การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ มี 3 กรณี
1. กรณีที่มีเอกสารราชการมาแสดง ไม่ว่าเอกสารนั้นจะจัดทำก่อนหรือหลังการจัดทำ ทะเบียนราษฎร เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนบ้านฉบับปี พ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ ฉบับปี พ.ศ. 2526 หรือใบสำคัญ การเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลหรือหลักฐานการสมรส หรือการหย่า เป็นต้น
2. กรณีไม่มีเอกสารราชการมาแสดง
3. กรณีแก้ไขรายการสัญชาติ

ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้าน บิดามารดา ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านหรือผู้ที่เป็น เจ้าของประวัติสถานที่ยื่นคำร้องขอแก้ไขรายการ

1. การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร และมรณบัตร ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียน อำเภอหรือสำนัก ทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีชื่อในทะเบียนบ้าน
2. การแก้ไขรายการในทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียน ท้องที่ที่จัดทำทะเบียนคนเกิดห รือทะเบียนคนตาย หรือใบแจ้งการย้ายที่อยู่

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ กรณีที่มีเอกสารราชการมาแสดง

       1. เอกสารราชการที่มาแสดงประกอบหลักฐานในการแก้ไขรายการ

       2. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านหรือเจ้าของประวัติหรือบิดามารดา)

       3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

       4. สูติบัตร หรือ มรณบัตร

ขั้นตอนในการติดต่อ

      1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน 

      2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานเห็นว่าเอกสารเชื่อถือได้ แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใน เอกสาร การทะเบียนราษฎรให้ตรงกับ

          หลักฐาน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สูติบัตร หรือมรณบัตร คืนผู้แจ้ง

กรณีไม่มีเอกสารราชการมาแสดงขั้นตอนในการติดต่อ

      1. ผู้ร้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน

      2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน

      3. พยานบุคคลและบัตรประจำตัวประชาชน

      4. พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่มี

      5. นายทะเบียนสอบสวนพยานหลักฐานและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ แล้วรวบรวมเสนอ นายอำเภอพร้อมด้วย ความเห็นเมื่อ 

          นายอำเภอเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเชื่อถือได้ นายอำเภอจะอนุมัติ แล้วสั่งนายทะเบียนให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการ

          ในเอกสารการทะเบียนราษฎรให้

กรณีการแก้ไขสัญชาติ

    การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับสัญชาติ มี 2 กรณี คือ

    1. กรณีแก้ไขจากสัญชาติอื่นหรือไม่มีสัญชาติ เป็นสัญชาติไทย ให้เสนอ นายอำเภอพิจารณา อนุมัติ (เป็นอำนาจเฉพาะตัวนายอำเภอ)

    2. กรณีแก้ไขจากสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นหรือไม่มีสัญชาติ เป็นสัญชาติอื่น นายทะเบียนอำเภอหรือ นายทะเบียนท้องถิ่นเป็นผู้

       พิจารณาอนุมัติ

กรณีขอมีบัตรครั้งแรกหลักเกณฑ์ผู้มีสัญชาติไทย  อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนหากไม่ไปขอมีบัตรภายใน 60 วัน จะถูกปรับไม่เกิน 500 บาทยื่นคำขอที่อำเภอ กิ่งอำเภอ  เขต  หรือเทศบาลที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด โดยยื่นหลักฐานดังนี้สำเนาทะเบียนบ้านแสดงหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกันผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกรณีเป็นบุตรบุคคลต่างด้าว ต้องมีหนังสือสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดามารดาแสดงด้วยกรณีไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองกรณีบัตรเติมหมดอายุเมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเติมหมดอายุโดยเสียค่าธรรมเนียม หากไม่ขอมีบุตรภายในกำหนด 60 วัน จะถูกปรับไม่เกิน 200 บาทหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุกรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลายเมื่อบัตรหายหรือบัตรถูกทำลายให้แจ้งความในท้องที่ที่เกิดเหตุ ดังนี้
เขตกรุงเทพมหานคร แจ้งความต่อสถานีตำรวจ
ต่างจังหวัด  แจ้งความที่อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาล แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือสถานีตำรวจภูธร ให้ยื่นเรื่องขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย หากเลยกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาหลักฐานการแจ้งความบัตรหาย
  • นำหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ไปด้วย (ถ้ามี) เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรเดิมที่สูญหาย
  • เสียค่าธรรมเนียม 20 บาทหากค้นหาหลักฐานเดิมที่เคยทำบัตรเก่าไม่พบ ต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ญาติพี่น้องไปรับรองด้วย

กรณีบัตรเดิมชำรุด หากบัตรเดิมชำรุด เช่น ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำเลอะเลือน ให้ขอเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน
หลักฐาน

  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • บัตรเดิมที่ชำรุด
  • หลักฐานที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง เป็นต้น
  • เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

หากบัตรชำรุดมากจนไม่สามารถใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้ ต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้ที่เชื่อถือได้ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ญาติพี่น้องไปรับรองด้วย
กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือสกุลหากเปลี่ยนชื่อตัวสกุลให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขหรือสกุลในทะเบียนบ้าน หากไม่ยื่นภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน

  • สำเนาทะเบียนบ้านบัตรฯ เดิม
  • ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

Login Form

จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์

6283669
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
822
1714
4653
6262326
32172
78428
6283669

Your IP: 3.16.67.54
Server Time: 2024-05-14 07:53:26

ติดต่อเรา

กด Like ให้ผมด้วยครับ

Template Settings

Color

For each color, the params below will give default values
Blue Red Oranges Green Purple Pink

Body

Background Color
Text Color

Header

Background Color

Footer

Select menu
Google Font
Body Font-size
Body Font-family
Direction