
- วันอาทิตย์, 27 กรกฎาคม 2557
การระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456มาตรา 120 ให้เจ้าท่ามีหน้าที่ดูแล รักษาและขุดลอกร่องน้ำ ทางเรือเดิน แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบและทะเลภายในน่านน้ำไทยมาตรา 117 ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบอันเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเล เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/266“ที่ชายตลิ่ง” ที่ดินที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบหรือทะเล ซึ่งในฤดูน้ำตามปกติน้ำท่วมถึง โดยลักษณะของที่ชายตลิ่งคือที่ดินที่อยู่ระหว่างจุดสูงสุดที่น้ำขึ้นตามปกติและจุดต่ำสุดที่น้ำลงตามปกติ
- ระเบียบกรมเจ้าท่า
ว่าด้วยการระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน พ.ศ.2538
- ที่ดินมีโฉนด
- การพิจารณาแนวฝั่ง
- แม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ แนวน้ำขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึง
- ทะเลไม่มีชายหาด แนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึง
- ทะเลมีชายหาด แนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึงหรือไม่ก็ได้
- เมื่อช่างรังวัดปูโฉนดและเจ้าของที่ดินนำชี้หลักเขตที่ดิน
- กรณีอยู่ตรงแนวฝั่งลำน้ำไม่ล้ำลงไปในลำน้ำและที่ดินข้างเคียงไม่คัดค้านให้ถือเป็นแนวระวังชี้แนวเขต
- กรณีอยู่ไม่ถึงแนวฝั่ง ให้แจ้งให้ช่างรังวัดทราบว่าแนวเขตที่ดินไม่ติดลำน้ำสาธารณะไม่อยู่ในอำนาหน้าที่ของเจ้าท่า
- กรณีไม่พบหลักเขตที่ดินริมฝั่งให้สอบเขตจากหลักเขตที่ดินด้านบนลงมา
- กรณีล้ำลงไปในลำน้ำสาธารณะ
- หากมีการหวงกันแนวเขตที่ดิน ไม่ปล่อยให้เป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงอยู่
- หากไม่มีการหวงกันโดยปล่อยให้เป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้แจ้งให้ช่างรังวัดร่นหลักเขตขึ้นมาบนฝั่ง หากเจ้าของที่ดินยินยอม และที่ดินข้างเคียงไม่คัดค้านให้ปักหลักเขตใหม่บนแนวฝั่ง
(การพิจารณาเรื่องการหวงกันแนวเขตที่ดินต้องพิจารณาจากแนวคำพิพากษาและข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่เป็นเรือง ๆ ไป)
- ที่ดินมีเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เช่น นส.3 นส.3ก.
- ให้ระวังชี้ ฯ ตามสิทธิครอบครองเดิมเป็นหลักโดยไม่เกินแนวเขตเดิม
- ที่ดินมีการครอบครองและทำประโยชน์แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
- ระวังชี้ ฯ ตามสิทธิครอบครองและทำประโยชน์แล้ว
- กรณีรังวัดแล้วล้ำลงไปในลำน้ำสาธารณะ ให้ตกเป็นที่สาธารณะทุกกรณี
- ที่งอก
- ป.พ.พ.มาตรา1308 ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
- หากเจ้าของทีดินประสงค์จะออกเอกสารสิทธิ์ในที่งอกให้ยื่นเรื่องต่อที่ดินจังหวัดเพื่อตั้งคณะกรรมการจังหวัดพิจารณาการออกที่งอก
- การหวงกันแนวเขตที่ดิน
- ฎีกาที่ ๓๕๓ - ๓๖๐/๒๕๐๗ ได้วินิจฉัยว่า เจ้าของที่ดินปลูกอาคารลงในที่ดินของตน ต่อมาน้ำในลำน้ำนั้นเซาะที่ดินภายใต้อาคารพังลงจนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่ง แต่เจ้าของที่ดินนั้นยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของครอบครองอาคารและที่ดินในเขตของตนอยู่โดยมิได้ทอดทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ต้องถือว่าที่ชายตลิ่งที่พิพาทกันนั้นยังไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- ฎีกาที่ ๔๗๘๒/๒๕๓๓ ได้วินิจฉัยว่า การที่บริษัท กรุงเทพค้าข้าว จำกัด และบริษัท แสนเจริญ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้นำหินไปทิ้งในส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อกันตลิ่งพังจึงถือว่าบริษัทฯ ยังคงสงวนสิทธิและครอบครองที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- ฎีกาที่ ๓๐๙๓/๒๕๒๓ ได้วินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทยังเป็นของโจทก์กับพวกอยู่ แม้น้ำจะเซาะที่ดินโจทก์กับพวกตรงที่พิพาท จนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งไปแล้วก็ตามแต่โจทก์กับพวกก็ยังใช้สิทธิเป็นเจ้าของโดยใช้เป็นทางเข้าออกอยู่ มิได้ทอดทิ้งให้เป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่พิพาทจึงไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- ข้อหารือของกฤษฎีกา เรื่อง สถานะทางกฎหมายของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิซึ่งถูกน้ำกัดเซาะและภายหลังได้มีการทับถมของที่ดินขึ้นใหม่ (เรื่องเสร็จที่ 961/2547)เมื่อที่ดินบริเวณที่ถูกน้ำกัดเซาะต่อมาในปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพเป็นชายฝั่งของทะเล การจะพิจารณาถึงสถานะทางกฎหมายของที่ดินบริเวณดังกล่าวว่าเป็นที่ดินประเภทใดยังมีความแตกต่างและไม่อาจถือเป็นที่ยุติได้ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีไปว่าสภาพที่ดินในแต่ละแปลงเป็นอย่างไรและเจ้าของที่ดินมีการใช้ประโยชน์หรือแสดงการหวงกันไว้หรือไม่ ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์อยู่นั้น แม้ภายหลังที่ดินดังกล่าวได้ถูกน้ำกัดเซาะหรือพังลงน้ำทำให้แนวเขตที่ดินเปลี่ยนไป แต่เจ้าของที่ดินยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของโดยการหวงกันหรือสงวนสิทธิในการครอบครองที่ดินของตนอยู่โดยมิได้ทอดทิ้งปล่อยให้เป็นทางน้ำหรือทางสาธารณะ ต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ในทางกลับกันหากเจ้าของที่ดินมิได้ใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของโดยการหวงกันหรือสงวนสิทธิในการครอบครองหรือยินยอมให้ตัดที่ดินที่พังลงน้ำนั้นออกจากโฉนด ก็ต้องถือว่าที่ดินนั้นได้กลายสภาพมาเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อไป
กล่าวโดยสรุป ที่ดินบริเวณที่มีการร้องเรียนจะมีสถานะทางกฎหมายเช่นใดนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าเจ้าของที่ดินแต่ละรายได้แสดงสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของหรือมีการหวงกันมิได้ปล่อยทิ้งที่ดินจนกลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจนเพื่อดำเนินการตามหลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นรายกรณีไป
- หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร0601/266
- กรณีแหล่งน้ำสาธารณะตื้นเขินทั้งหมดหรือบางส่วน ตามธรรมชาติหรือเกิดจากการสร้างเขื่อนทำให้เกิดที่ดินริมแหล่งน้ำสาธารณะที่ น้ำท่วมไม่ถึงอีกต่อไปย่อมพ้นสภาพจากการเป็น “ที่ชายตลิ่ง” และไม่อยู่ในความรับผิดชอบกรมเจ้าท่าอีกต่อไป การปลูกสร้างสิ่งล้วงลำล้ำน้ำในที่ดินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับต้องขออนุญาต หรือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การเดินเรือฯ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนสภาพก็ยังคงเป็นสาธารณะแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่ และอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของนายอำเภอ
- ปัญหาในทางปฏิบัติ
- น้ำท่วมถึงตามปกติแค่ไหน พิจารณาจากอะไร
- อย่างไรคือการ “หวงกัน” หรือ “สงวนสิทธิครอบครอง”
“ที่งอก” จะดำเนินการอย่างไร
- แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ
- หารือ สคก. ให้ทบทวนการพิจารณาข้อหารือกรณีที่ดินริมแหล่งน้ำสาธารณะตื้นเขินแล้วพ้นสภาพจากการเป็นที่ชายตลิ่งอันไม่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าท่า ตามหนังสือ ที่ นร0601/266
- แก้ไขระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน