
Super User
สอบราคาจ้างเหมา 5โครงการ ด้วยระบบ e-GP
ข่าวประกาศเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เรื่อง สอบราคาจ้างเหมา 5โครงการ ด้วยระบบ e-GP รายละเอียดคลิกที่นี่
สอบราคาซื้อครุภัณฑ์เครื่องดนครี
ข่าวประกาศเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เรื่อง สอบราคาซื้อครุภัณฑ์เครื่องดนครี (วงโยธวาธิตขนาดเล็ก)ด้วยระบบ e-GP รายละเอียดคลิกที่นี่
ประมูลจ้างเหมาก่อสร้าง 5 โครงการด้วยระบบ e-GP
ข่าวประกาศเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เรื่อง ประมูลจ้างเหมาก่อสร้าง 5 โครงการด้วยระบบ e-GP รายละเอียดคลิกที่นี่
ประมูลจ้างเหมาก่อสร้าง 5 โครงการด้วยระบบ e-GP
ข่าวประกาศเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ เรื่อง ประมูลจ้างเหมาก่อสร้าง 5 โครงการด้วยระบบ e-GP รายละเอียดคลิกที่นี่
ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
ภาษีโรงเรือนและที่ดินคืออะไรความหมายของภาษีโรงเรือนและที่ดินมีดังนี้
คือ ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ กับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น โรงเรือน หมายความถึง บ้าน ตึกแถว อาคาร ร้านค้า สำนักงาน บริษัท ธนาคาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ โรงพยาบาล โรงเรียน แฟลต อาพาร์ทเมนท์ คอนโดมิเนียม หอพัก สนามม้า สนามมวย คลังสินค้า เรือนแพ ฯลฯ สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ หมายถึง สิ่งปลูกสร้างอื่น ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร เช่น ท่าเรือ สะพาน อ่างเก็บน้ำ คานเรือ ถังเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่ก่อสร้างติดที่ดินถาวร ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นๆ หมายถึง ที่ดินที่ใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่น และบริเวณต่อเนื่องซึ่งใช้ด้วยกันกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้น ที่ดิน หมายความรวมถึง ทางน้ำ บ่อน้ำ สระน้ำ ด้วย
ดังนั้นลักษณะของที่เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินก็คือ ทรัพย์สินต่างๆได้หาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำ ไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
ทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี ได้แก่ ประเภททรัพย์สินที่ต้องเสียภาษีได้แก่ อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ กับที่ดินต่อเนื่องซึ่งใช้ปลูกสร้างอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ รวมถึงบริเวณที่ต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับอาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ ซึ่งเจ้าของกรรมสิทธิ์ได้นำทรัพย์สินดังกล่าวออกหาผลประโยชน์ตอบแทนนอกเหนือจากการอยู่อาศัยของตนเองโดยปกติหรือให้ผู้อื่นนำ ไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม ทรัพย์สินแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
(1) โรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ
(2) ที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ซึ่งหมายความว่าเป็นที่ดินซึ่งใช้เป็นที่ปลูกสร้างโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ และที่ดินอันเป็นบริเวณต่อเนื่องกันซึ่งตามปกติ ใช้ประโยชน์ไปด้วยกันกับโรงเรือน อาคาร สิ่งปลูกสร้างนั้น ๆ
ทรัพย์สินที่ไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน?
ทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นภาษี ได้แก่
(1) พระราชวังอันเป็นส่วนของแผ่นดิน
(2) ทรัพย์สินของรัฐบาลที่ใช้ในกิจการของรัฐบาล หรือสาธารณะและทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง
(3) ทรัพย์สินของโรงพยาบาลสาธารณะและโรงเรียนสาธารณะ ซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและใช้เฉพาะในการรักษาพยาบาลและในการศึกษา
(4) ทรัพย์สินซึ่งเป็นศาสนสมบัติอันใช้เฉพาะในศาสนกิจอย่างเดียวหรือเป็นที่อยู่ของสงฆ์
(5) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่น ๆ ซึ่งปิดไว้ตลอดปีและเจ้าของมิได้อยู่เองหรือให้ผู้อื่นอยู่นอกจากคนเฝ้าในโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง อย่างอื่น ๆ หรือในที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกัน
(6) โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างของการเคหะแห่งชาติที่ผู้เช่าซื้ออาศัยอยู่เองโดยมิได้ใช้เป็นที่เก็บสินค้าหรือประกอบการอุตสาหกรรม หรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2535 ยกเว้นพื้นที่อ่างเก็บน้ำ เขื่อนต่างๆ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ซึ่งเป็นที่ต่อเนื่อง
3.ไม่ชำระเงินภายใน 15 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2 %ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนในนับเป็นหนึ่งเดือน
4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท
5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันที่รับโอนต้องระวางโทษปรับ ตั้งแต่ 1,000 – 10,000 บาท
6. ผู้ใดไม่แสดงชื่อ -ที่อยู่ เจ้าของป้ายอักษรไทย ให้ชัดเจนที่มุมขวาด้านล่างของป้ายซึ่งติดตั้งบน อสังหาริมทรัพย ์ของผู้อื่นและมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องระวางโทษปรับวันละ100บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
7. ผู้ใดโดยรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำ เท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็น เท็จหรือนำพยานหรือหลักฐานเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้าย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ภาษีป้าย
ภาษีป้าย เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายการค้าหรือ โฆษณาหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษรภาพหรือเครื่องหมายที่เขียนและสลักจารึก หรือ ทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น
ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ เจ้าของป้ายหรือผู้ครอบครองป้าย
ระยะเวลาการชำระภาษี คือ มกราคม – มีนาคม ของทุกปี
อัตราภาษี
1.ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
2.ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือปนกับภาพและหรือเครื่องหมายอื่น ๆ คิด อัตรา 20บาท ต่อ 500 ตร.ซม
3.ป้ายดังต่อไปนี้ คิดอัตรา 40 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.
- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใด ๆ หรือไม่
- ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
4. ป้ายที่คำนวณพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 200บาท ให้เสียในอัตรา 200 บาท
การยื่นแบบประเมินและการชำระภาษี
1.เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบแสดงรายการภาษีตั้งแต่เดือน มกราคม - เดือนมีนาคมของทุกปี โดยเสียเป็นรายปียกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน15 วัน และให้เสียภาษีตั้งแต่เริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงสิ้นปี และเสียภาษีป้ายเป็นงวด ๆ ละ 3 เดือนของปี
2.ชำระภาษีป้ายภาพใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากเจ้าหน้าที่
3.ถ้าภาษีเกิน 3,000 บาท จะขอผ่านชำระเป็นสามงวดเท่า ๆ กันก็ได้
การอุทรณ์
ถ้าผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีป้ายได้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน
อัตราโทษและค่าปรับ
1.ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม หรือหลังติดตั้งป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษี
2.ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลงต้องเสียเงินเพิ่ม 10 % ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
ภาษีบำรุงท้องที่
ภาษีบำรุงท้องที่ หมายถึง ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินไม่ว่าจะเป็น บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีบำรุงท้องที่ คือ ผู้เป็นเจ้าของที่ดินระยะเวลาการชำระภาษี ภายในเดือนมกราคม - เมษายน ของทุกปี
อัตราภาษี
- จะต้องเสียตามราคาปานกลางของที่ดินมีหลายอัตราขอทราบรายละเอียดกับเจ้าหน้าที่โดยตรง
- ที่ดินว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์จำต้องเสียภาษีเป็น 2 เท่า ของอัตราปกติ
การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่
- ให้เจ้าของที่ดินที่อยู่ในเขตเทศบาล ไปยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน ( แบบ ภ.บ.ท. 5) ที่งานจัดเก็บรายได้เทศบาลและชำระภาษีภายในเดือน มกราคม - เมษายน ของทุกปี
- กรณีเป็นเจ้าของที่ดินใหม่ หรือมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนที่ดิน เจ้าของที่ดินจะต้องยื่นแบบแสดงรายการภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
หลักฐานที่ต้องนำไป
- สำเนาโฉนดที่ดิน หรือ น.ส.3 หรือ น.ส. 3 ก
การลดหย่อน และการยกเว้นภาษีบำรุงท้องถิ่นที่ดินแปลงที่เจ้าของบ้านอยู่อาศัยโดยไม่ทำการค้าหรือให้เช่าแต่อย่างใดทั้งสิ้น ลดหย่อนได้ 1 ไร่ส่วนเกินต้องเสียภาษีตามอัตราที่กำหนด ที่ดินที่เจ้าของปลูกบ้านให้เช่าหรือปลูกบ้านทำการค้าและได้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดินแล้ว จะได้รับการยกเว้นภาษีบำรุงท้องที่ในส่วนที่อาคารนั้นตั้งอยู่
บทกำหนดโทษ
-ผู้ใดจงใจไม่มายื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5)หรือ ไม่ยอมชี้แจงหรือไม่ยอมแจ้งจำนวนเนื้อที่ดิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
-ผู้ใดโดยรู้หรือจงใจแจ้ง ข้อความอันเป็นเท็จมาแสดงเพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีบำรุงท้องที่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับไม่เกิน 2,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ-ผู้ใดไม่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในกำหนด ให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 24 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่
การระวางชี้แนวเขต
การระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456มาตรา 120 ให้เจ้าท่ามีหน้าที่ดูแล รักษาและขุดลอกร่องน้ำ ทางเรือเดิน แม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบและทะเลภายในน่านน้ำไทยมาตรา 117 ห้ามมิให้ผู้ใดปลูกสร้างอาคารหรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำเข้าไปเหนือน้ำ ในน้ำ และใต้น้ำของแม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบอันเป็นทางสัญจรของประชาชน หรือที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือทะเลภายในน่านน้ำไทย หรือบนชายหาดของทะเล เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าท่าหนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร 0601/266“ที่ชายตลิ่ง” ที่ดินที่อยู่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง ทะเลสาบหรือทะเล ซึ่งในฤดูน้ำตามปกติน้ำท่วมถึง โดยลักษณะของที่ชายตลิ่งคือที่ดินที่อยู่ระหว่างจุดสูงสุดที่น้ำขึ้นตามปกติและจุดต่ำสุดที่น้ำลงตามปกติ
- ระเบียบกรมเจ้าท่า
ว่าด้วยการระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน พ.ศ.2538
- ที่ดินมีโฉนด
- การพิจารณาแนวฝั่ง
- แม่น้ำ ลำคลอง บึง อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ แนวน้ำขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึง
- ทะเลไม่มีชายหาด แนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึง
- ทะเลมีชายหาด แนวน้ำทะเลขึ้นสูงสุดตามปกติท่วมถึงหรือไม่ก็ได้
- เมื่อช่างรังวัดปูโฉนดและเจ้าของที่ดินนำชี้หลักเขตที่ดิน
- กรณีอยู่ตรงแนวฝั่งลำน้ำไม่ล้ำลงไปในลำน้ำและที่ดินข้างเคียงไม่คัดค้านให้ถือเป็นแนวระวังชี้แนวเขต
- กรณีอยู่ไม่ถึงแนวฝั่ง ให้แจ้งให้ช่างรังวัดทราบว่าแนวเขตที่ดินไม่ติดลำน้ำสาธารณะไม่อยู่ในอำนาหน้าที่ของเจ้าท่า
- กรณีไม่พบหลักเขตที่ดินริมฝั่งให้สอบเขตจากหลักเขตที่ดินด้านบนลงมา
- กรณีล้ำลงไปในลำน้ำสาธารณะ
- หากมีการหวงกันแนวเขตที่ดิน ไม่ปล่อยให้เป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้ถือว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินยังคงอยู่
- หากไม่มีการหวงกันโดยปล่อยให้เป็นที่สาธารณะสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน ให้แจ้งให้ช่างรังวัดร่นหลักเขตขึ้นมาบนฝั่ง หากเจ้าของที่ดินยินยอม และที่ดินข้างเคียงไม่คัดค้านให้ปักหลักเขตใหม่บนแนวฝั่ง
(การพิจารณาเรื่องการหวงกันแนวเขตที่ดินต้องพิจารณาจากแนวคำพิพากษาและข้อเท็จจริงในแต่ละพื้นที่เป็นเรือง ๆ ไป)
- ที่ดินมีเอกสารหลักฐานอื่น ๆ เช่น นส.3 นส.3ก.
- ให้ระวังชี้ ฯ ตามสิทธิครอบครองเดิมเป็นหลักโดยไม่เกินแนวเขตเดิม
- ที่ดินมีการครอบครองและทำประโยชน์แต่ไม่มีเอกสารสิทธิ์
- ระวังชี้ ฯ ตามสิทธิครอบครองและทำประโยชน์แล้ว
- กรณีรังวัดแล้วล้ำลงไปในลำน้ำสาธารณะ ให้ตกเป็นที่สาธารณะทุกกรณี
- ที่งอก
- ป.พ.พ.มาตรา1308 ที่ดินแปลงใดเกิดที่งอกริมตลิ่ง ที่งอกย่อมเป็นทรัพย์สินของเจ้าของที่ดินแปลงนั้น
- หากเจ้าของทีดินประสงค์จะออกเอกสารสิทธิ์ในที่งอกให้ยื่นเรื่องต่อที่ดินจังหวัดเพื่อตั้งคณะกรรมการจังหวัดพิจารณาการออกที่งอก
- การหวงกันแนวเขตที่ดิน
- ฎีกาที่ ๓๕๓ - ๓๖๐/๒๕๐๗ ได้วินิจฉัยว่า เจ้าของที่ดินปลูกอาคารลงในที่ดินของตน ต่อมาน้ำในลำน้ำนั้นเซาะที่ดินภายใต้อาคารพังลงจนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่ง แต่เจ้าของที่ดินนั้นยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของครอบครองอาคารและที่ดินในเขตของตนอยู่โดยมิได้ทอดทิ้งปล่อยให้เป็นที่ชายตลิ่งสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ต้องถือว่าที่ชายตลิ่งที่พิพาทกันนั้นยังไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- ฎีกาที่ ๔๗๘๒/๒๕๓๓ ได้วินิจฉัยว่า การที่บริษัท กรุงเทพค้าข้าว จำกัด และบริษัท แสนเจริญ จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้นำหินไปทิ้งในส่วนที่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อกันตลิ่งพังจึงถือว่าบริษัทฯ ยังคงสงวนสิทธิและครอบครองที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินบริเวณดังกล่าวจึงไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- ฎีกาที่ ๓๐๙๓/๒๕๒๓ ได้วินิจฉัยว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่พิพาทยังเป็นของโจทก์กับพวกอยู่ แม้น้ำจะเซาะที่ดินโจทก์กับพวกตรงที่พิพาท จนกลายสภาพเป็นที่ชายตลิ่งไปแล้วก็ตามแต่โจทก์กับพวกก็ยังใช้สิทธิเป็นเจ้าของโดยใช้เป็นทางเข้าออกอยู่ มิได้ทอดทิ้งให้เป็นที่สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันที่พิพาทจึงไม่เป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
- ข้อหารือของกฤษฎีกา เรื่อง สถานะทางกฎหมายของที่ดินที่มีเอกสารสิทธิซึ่งถูกน้ำกัดเซาะและภายหลังได้มีการทับถมของที่ดินขึ้นใหม่ (เรื่องเสร็จที่ 961/2547)เมื่อที่ดินบริเวณที่ถูกน้ำกัดเซาะต่อมาในปัจจุบันได้เปลี่ยนสภาพเป็นชายฝั่งของทะเล การจะพิจารณาถึงสถานะทางกฎหมายของที่ดินบริเวณดังกล่าวว่าเป็นที่ดินประเภทใดยังมีความแตกต่างและไม่อาจถือเป็นที่ยุติได้ ย่อมขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณีไปว่าสภาพที่ดินในแต่ละแปลงเป็นอย่างไรและเจ้าของที่ดินมีการใช้ประโยชน์หรือแสดงการหวงกันไว้หรือไม่ ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินที่เอกชนมีกรรมสิทธิ์อยู่นั้น แม้ภายหลังที่ดินดังกล่าวได้ถูกน้ำกัดเซาะหรือพังลงน้ำทำให้แนวเขตที่ดินเปลี่ยนไป แต่เจ้าของที่ดินยังคงใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของโดยการหวงกันหรือสงวนสิทธิในการครอบครองที่ดินของตนอยู่โดยมิได้ทอดทิ้งปล่อยให้เป็นทางน้ำหรือทางสาธารณะ ต้องถือว่าที่ดินดังกล่าวไม่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ในทางกลับกันหากเจ้าของที่ดินมิได้ใช้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของโดยการหวงกันหรือสงวนสิทธิในการครอบครองหรือยินยอมให้ตัดที่ดินที่พังลงน้ำนั้นออกจากโฉนด ก็ต้องถือว่าที่ดินนั้นได้กลายสภาพมาเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินแล้ว ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนต่อไป
กล่าวโดยสรุป ที่ดินบริเวณที่มีการร้องเรียนจะมีสถานะทางกฎหมายเช่นใดนั้น ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงว่าเจ้าของที่ดินแต่ละรายได้แสดงสิทธิแห่งความเป็นเจ้าของหรือมีการหวงกันมิได้ปล่อยทิ้งที่ดินจนกลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจนเพื่อดำเนินการตามหลักเกณฑ์ข้างต้นเป็นรายกรณีไป
- หนังสือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่ นร0601/266
- กรณีแหล่งน้ำสาธารณะตื้นเขินทั้งหมดหรือบางส่วน ตามธรรมชาติหรือเกิดจากการสร้างเขื่อนทำให้เกิดที่ดินริมแหล่งน้ำสาธารณะที่ น้ำท่วมไม่ถึงอีกต่อไปย่อมพ้นสภาพจากการเป็น “ที่ชายตลิ่ง” และไม่อยู่ในความรับผิดชอบกรมเจ้าท่าอีกต่อไป การปลูกสร้างสิ่งล้วงลำล้ำน้ำในที่ดินดังกล่าว จึงไม่อยู่ในบังคับต้องขออนุญาต หรือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. การเดินเรือฯ แต่ตราบใดที่ยังไม่มีการถอนสภาพก็ยังคงเป็นสาธารณะแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันอยู่ และอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของนายอำเภอ
- ปัญหาในทางปฏิบัติ
- น้ำท่วมถึงตามปกติแค่ไหน พิจารณาจากอะไร
- อย่างไรคือการ “หวงกัน” หรือ “สงวนสิทธิครอบครอง”
“ที่งอก” จะดำเนินการอย่างไร
- แนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติ
- หารือ สคก. ให้ทบทวนการพิจารณาข้อหารือกรณีที่ดินริมแหล่งน้ำสาธารณะตื้นเขินแล้วพ้นสภาพจากการเป็นที่ชายตลิ่งอันไม่อยู่ในความรับผิดชอบของเจ้าท่า ตามหนังสือ ที่ นร0601/266
- แก้ไขระเบียบกรมเจ้าท่า ว่าด้วยการระวังชี้และรับรองแนวเขตที่ดิน
ขออนุญาตดัดแปลงรื้อถอนอาคาร
การขอใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (อ.1)
หลักฐาน
1. สำเนาเอกสารสิทธิครอบครองในที่ดิน เช่น โฉนด, โฉนดตราจอง, น.ส.3 หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ ถ่ายเท่าต้นฉบับเดิมทุกหน้าไม่ขยายหรือย่อส่วน จำนวน 2 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน เจ้าของที่ดิน/ผู้ขออนุญาต รับรองสำเนาเรียบร้อย จำนวน 1 ชุด
3. หนังสือยินยอมให้ก่อสร้างอาคารในที่ดิน/หนังสือมอบอำนาจ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน, บัตรประชาชน ของผู้ยินยอม/มอบอำนาจ (กรณีมีการยินยอมหรือมอบอำนาจ) จำนวน 1ชุด
4. สำเนาหนังสือจดทะเบียนบริษัท, สำเนาหนังสือรับรอง, สำเนาทะเบียนบัตรประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามในบริษัท (กรณีขออนุญาตในนามของบริษัท) จำนวน 1 ชุด
5. ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรม, ใบประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม (กรณีอาคารเข้าข่ายอาคารควบคุมหรืออาคารขนาดใหญ่ จำนวน 1 ชุด)
6. รายการคำนวณโครงสร้าง (กรณีอาคารเข้าข่ายอาคารควบคุมหรืออาคารขนาดใหญ่) จำนวน 1 ชุด กรณีอาคารที่มีการเจาะสำรวจดินให้แนบผลการเจาะสำรวจดิน จำนวน 1 ชุด
7. แบบแปลนพิมพ์เขียวจำนวน 5 ชุดและให้เพิ่มเฉพาะผังบริเวณสถานที่ก่อสร้างอีก 1 ใบ
8. คำร้องการยื่นขออนุญาตขอรับได้ที่ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง ชั้น 2 สำนักการช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
การขอออกใบรับรองการก่อสร้างอาคาร (อ.6)
หลักฐาน
1. แบบแปลนที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้าง จากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำนวน 1 ชุด
2. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร (อ.1) ที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำนวน 1 ชุด
3. หนังสือรับรองของผู้ควบคุมงาน ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522
4. เอกสารคำร้อง ขอรับได้ที่ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง ชั้น 2 สำนักการช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
การขออนุญาตซ่อมแซมอาคาร
หลักฐาน
1. สำเนาเอกสารสิทธิครอบครองที่ดิน เช่น โฉนด, โฉนดตราจอง, น.ส.3 หรือเอกสารอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน ผู้ขออนุญาต/เจ้าของ จำนวน 1 ชุด
3. ผังบริเวณสถานที่ขออนุญาตซ่อมแซม จำนวน 1 ชุด (โดยสังเขป)
4. เอกสารคำร้อง ขอรับได้ที่ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง ชั้น 2 สำนักการช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
การขออนุญาตรื้อถอนอาคาร
1. สำเนาเอกสารสิทธิครอบครองที่ดิน เช่น โฉนด, โฉนดตราจอง, น.ส.3 หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้บริเวณที่จะทำการรื้อถอน จำนวน 1 ชุด
2. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน ผู้ขออนุญาต/เจ้าของ จำนวน 1 ชุด
3. กรณีเป็นห้างหุ้นส่วน, บริษัท ให้แนบหนังสือการจดทะเบียนบริษัท พร้อมสำเนาบัตรประชาชน, สำเนาทะเบียนบ้านกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม จำนวน 1 ชุด
4. แบบแปลนอาคารที่รื้อถอน หรือผังบริเวณสถานที่รื้อถอน จำนวน 1 ชุด
5. คำร้องขออนุญาตรื้อถอน ขอรับได้ที่ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง ชั้น 2 สำนักการช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
การขอใบแทนใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน
1. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน จำนวน 1 ชุด
2. หนังสือแจ้งความการสูญหายจากสถานีตำรวจ
3. เอกสารคำร้อง ขอรับได้ที่ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง ชั้น 2 สำนักการช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
การขอโอนใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน
1. ใบอนุญาตก่อสร้าง, ดัดแปลง, รื้อถอนอาคาร (อ.1) ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกให้ จำนวน 1 ฉบับ
2. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน ผู้รับโอน จำนวน 1 ชุด
3. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน ผู้ขอโอน จำนวน 1 ชุด
4. สำเนาเอกสารสิทธิการครอบครองที่ดิน เช่น โฉนด, โฉนดตราจอง, น.ส.3 หรือเอกสารที่ทางราชการออกให้ที่ผู้ขอโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้รับโอนเรียบร้อยแล้ว จำนวน 1 ชุด
5. คำร้องขอโอนขอรับได้ที่ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง ชั้น 2 สำนักการช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
การขอต่ออายุหนังสืออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร
1. ใบอนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนอาคาร (อ.1) ที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกให้ (ต้นฉบับ) จำนวน 1 ชุด
2. แบบแปลนพิมพ์เขียวที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำนวน 1 ชุด
3. ใบรับรองของผู้ควบคุมงาน ตามมาตรา 29 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 จำนวน 1 ชุด
4. เอกสารคำร้อง ขอรับได้ที่ส่วนควบคุมอาคารและผังเมือง อาคาร 1 ชั้น 3 สำนักการช่าง สำนักงานเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
หมายเหตุ การยื่นขอต่อใบอนุญาตต้องยื่นก่อนใบอนุญาตหมดอายุ 60 วัน
ขออนุญาตก่อสร้าง
1. การขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ต้องเตรียมหลักฐานดังนี้
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและเจ้าของที่ดิน อย่างละ 1 ชุด
- แบบก่อสร้างแผนผังและรายการประกอบแบบ อย่างละ 5 ชุด
- สำเนาโฉนดที่ดินที่จะทำการก่อสร้าง จำนวน 1 ชุด (หรือเอกสารสิทธิ์อื่น ๆ)
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท วัตถุประสงค์ ผู้มีอำนาจลงชื่อแทน นิติบุคคล ที่ขออนุญาตที่ออกให้ไม่เกิน 6 เดือน
2. การเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องเฉพาะเรื่อง
- หนังสือยินยอมจากเจ้าของที่ดิน (กรณีผู้ขออนุญาตมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน)
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดผนัง (กรณีใช้ผนังร่วมกัน)
- หนังสือยินยอมให้ปลูกสร้างอาคารชิดเขตที่ดิน (กรณีชิดเขตที่ดินข้างเคียง)
- หนังสือรับรองผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว(กรณที่ีอยู่ในข่ายควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกรรม และพ.ร.บ.วิชาชีพสถาปัตยกรรม)
- รายการคำนวณ 1 ชุด (กรณีส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและทนไฟเป็นส่วนใหญ่ หรืออาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ)
- แบบระบบบำบัดน้ำเสียสำหรับบ้านพักอาศัย (ตามแบบมาตรฐานกรมโยธาธิการหรืออื่น ๆ )
- หนังสือแสดงว่าคณะกรรมการการควบคุมการจัดสรรที่ดินพิจารณาให้ความเห็นชอบ
- แผนผังโครงการจัดสรรที่ดินที่ได้รับอนุญาตแล้ว (กรณีอาคารเข้าข่ายการจัดสรรที่ดิน)
- เตรียมแบบและใบอนุญาตเดิมที่ได้รับจากเทศบาลตำบลธัญบุรี จำนวน 1 ชุด (กรณีดัดแปลงอาคาร, ต่อเติมหรือต่ออายุใบอนุญาต)
3. การพิจารณา
- ในการตรวจพิจารณารายละเอียดแบบแปลน เทศบาลอาจสั่งให้ผู้ขอใบอนุญาตแก้ไขเปลี่ยนแปลงผังบริเวณแบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน หรือรายการคำนวณที่ได้ยื่นไว้ให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และแก้ไขเพิ่มเติมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร(ฉบับ ที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- อาคารประเภทควบคุมการใช้ เมื่อก่อสร้างแล้วเสร็จจะต้องแจ้งกองช่างทำการตรวจสอบ เพื่อขอใบรับรองการใช้อาคารก่อนเปิดใช้อาคารหรือให้ผู้อื่นใช้
- การขออนุญาตก่อสร้างตามมาตรา 39 ทวิ โดยไม่ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะต้องดำเนินการ
- แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบตามแบบที่กำหนด พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลและยื่นเอกสาร
1). ชื่อผู้รับผิดชอบงานออกแบบอาคาร (วุฒิสถาปนิก) พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว
2). ชื่อของผู้รับงานออกแบบและคำนวณอาคาร (วุฒิวิศวกร) พร้อมสำเนาบัตร ประจำตัว
3). ชื่อผู้ควบคุมงาน (ตามกฎหมายวิชาชีพสถาปัตยกรรม-วิศวกรรม พร้อมสำเนาบัตรประจำตัว)
4). แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบ รายการคำนวณ
5). วันเริ่มต้น และวันสิ้นสุด การดำเนินการก่อสร้างอาคาร
4. ระยะเวลาในการพิจารณาในกรณีทั่วไป
- อาคารพักอาศัยไม่เกิน 2 ชั้น ใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 20 วัน ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน
- อาคารพาณิชย์ อาคารขนาดใหญ่ อาคารประเภทควบคุมการใช้ ใช้เวลาในการพิจารณา 33 วัน (ไม่รวมระยะเวลาแก้ไขแบบแปลน)
- ยกเว้นในกรณีที่มีข้อขัดข้อง จะใช้เวลาพิจารณาตามที่ได้กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
5. คำแนะนำในการขอรับอนุญาตเกี่ยวกับอาคาร (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 10 พ.ศ. 2528)
5.1 ผู้ขอรับใบอนุญาตต้องแนบเอกสารเกี่ยวกับแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลน จำนวน 5 ชุด พร้อมกับคำขอ อาคารสาธารณะ อาคารพิเศษ หรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยวัตถุถาวรและวัตถุทนไฟเป็นส่วนใหญ่ ต้องแนบรายการคำนวณ จำนวน 1 ชุด
5.2 เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพิจารณาแผนผังบริเวณ แบบแปลนรายการประกอบแบบแปลนและรายการคำนวณ (ถ้ามี) ถูกต้องแล้ว ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกใบอนุญาตได้
5.3 อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อทำการก่อสร้างเสร็จแล้ว ให้เจ้าของอาคารหรือผู้ครอบครองอาคารยื่นคำขอใบรับรองต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
5.4 ในกรณีที่เจ้าของอาคาร ประสงค์จะใช้อาคารเพื่อกิจการประเภทควบคุมการใช้ จะเปลี่ยนการใช้อาคารให้ยื่นคำขออนุญาตเปลี่ยนการใช้อาคารนั้น
5.5 ในกรณีที่เจ้าของอาคารประสงค์จะดัดแปลงหรือใช้ที่จอดรถเพื่อการอื่นและก่อสร้างที่จอดรถแทนของเดิมให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น
5.6 ผู้ได้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาตก่อสร้างอาคาร ให้ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ
5.7 ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือใบรับรองสูญหาย ถูกทำลายหรือชำรุด ให้ยื่นคำขอรับใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบถึงการสูญหาย
5.8 ผู้ได้รับใบอนุญาต ผู้ใดประสงค์จะโอนใบอนุญาตก่อสร้างอาคารให้แก่บุคคลอื่น ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เมื่อเห็นเป็นการสมควร ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นออกหนังสือแจ้งอนุญาตให้โอนใบอนุญาตให้แก่ผู้ขอโอนใบอนุญาตได้
5.9 แผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณต้องเป็นสิ่งพิมพ์ สำเนาภาพถ่ายหรือเขียนด้วยหมึก และต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
- มาตราส่วน ให้ใช้มาตราเมตริก
- แผนผังบริเวณ ให้ใช้มาตราเมตริก
- แสดงขอบนอกของอาคารที่ขออนุญาตถึงขอบเขตของที่ดินทุกด้าน
- ระยะห่างระหว่างอาคารต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว และอาคารที่ขออนุญาตในขอบเขตของ ที่ดิน
- ลักษณะและขอบเขตของที่สาธารณะพร้อมด้วยเครื่องหมายทิศ
- ให้แสดงทางระบายน้ำออกจากอาคารไปสู่ทางระบายน้ำสาธารณะ พร้อมทั้งแสดงเครื่องหมายชี้ทิศทางน้ำไหลและส่วนลาด
- แสดงระดับของพื้นชั้นล่างของอาคารและความสัมพันธ์กับระดับทาง หรือถนนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดและระดับพื้นดิน
- ให้แสดงแผนผังบริเวณที่จะทำการเคลื่อนย้ายอาคารไปอยู่ในที่ใหม่ให้ชัดเจน
- แบบแปลนให้ใช้มาตราส่วนไม่เล็กกว่า 1 ใน 100 โดยต้องแสดงแปลนพื้นรูปด้าน (ไม่น้อยกว่า 2 ด้าน) รูปตัดขวาง รูปตัดทางยาว ผังคานรับพื้นชั้นต่างๆ และผังฐานรากของอาคาร พร้อมด้วยรายละเอียด
- แบบแปลน ต้องมีรูปรายละเอียดอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะพิจารณาตามกฎหมาย
- แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนต่าง ๆ ของอาคารที่จะก่อสร้างให้ชัดเจน
- แบบแปลน สำหรับการดัดแปลงอาคารให้แสดงส่วนที่มีอยู่เดิมและส่วนที่จะดัดแปลงให้ชัดเจน
- แบบแปลน สำหรับการรื้อถอนอาคาร ให้แสดงขั้นตอนวิธีการตลอดจนความปลอดภัยในการรื้อถอนอาคาร
- แบบแปลน สำหรับการเคลื่อนย้ายอาคาร ให้แสดงขั้นตอน วิธีการ ความมั่นคงแข็งแรง ตลอดจนความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายอาคาร
- สำหรับอาคารที่มีรูปตัดทางขวางหรือรูปตัดทางยาวของอาคาร มีความกว้าง ความยาว หรือความสูงเกิน 90 เมตร แบบแปลนจะใช้มาตรา ส่วนเล็กกว่า 1 ใน 100 ก็ได้ แต่ต้องไม่เล็กกว่า 1 ใน 250
- แบบแปลนสำหรับการเปลี่ยนการใช้อาคาร ให้แสดงส่วนที่ใช้อยู่เดิม และส่วนที่จะเปลี่ยนการใช้ใหม่ให้ชัดเจน
- รายการประกอบแบบแปลน ให้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับคุณภาพและชนิดของวัสดุ ตลอดจนวิธีปฏิบัติ หรือวิธีการสำหรับการก่อสร้างอาคาร
- รายการคำนวณให้แสดงวิธีการตามหลักวิศวกรรมศาสตร์
5.10 ผู้รับผิดชอบงานออกแบบหรือผู้รับผิดชอบงานออกแบบและคำนวณ ต้องลงลายมือชื่อพร้อมกับเขียนชื่อตัวบรรจง ที่อยู่พร้อมกับคุณวุฒิของผู้รับผิดชอบดังกล่าวไว้ในแผนผังบริเวณ แบบแปลน รายการประกอบแบบแปลน และรายการคำนวณแต่ละชุดด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมให้ระบุเลขทะเบียนในใบอนุญาตไว้ด้วย
6. ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเปลี่ยนการใช้ ฉบับละ 20 บาท
- ใบรับรอง ฉบับละ 10 บาท
- ใบแทนใบอนุญาตหรือใบแทนใบรับรอง ฉบับละ 5 บาท
ค่าธรรมเนียมการต่ออายุใบอนุญาต
- ใบอนุญาตก่อสร้าง ฉบับละ 20 บาท
- ใบอนุญาตดัดแปลง ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตรื้อถอน ฉบับละ 10 บาท
- ใบอนุญาตเคลื่อนย้าย ฉบับละ 10 บาท
- ค่าธรรมเนียมการตรวจแบบแปลนก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคาร
1. อาคารไม่เกิน 2 ชั้น สูงไม่เกิน 12 เมตร ตร.ม. ละ 50 สตางค์
2. อาคารไม่เกิน 3 ชั้น และสูงเกิน 12 เมตร แต่ไม่เกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 12 บาท
3. อาคารสูงเกิน 3 ชั้น หรือสูงเกิน 15 เมตร ตร.ม. ละ 4 บาท
4. ป้าย ตร.ม. ละ 4 บาท
สำหรับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลธัญบุรี ก่อนดำเนินการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนต่อเติมหรือการเคลื่อน
ย้าย อาคารต่าง ๆ ในเขตเทศบาล โปรดติดต่อขออนุญาตได้ที่กองช่าง เมื่อท่านทำการก่อสร้างอาคารแล้วเสร็จให้
ท่านยื่นคำร้องขอหมายเลขประจำบ้านได้ที่งานทะเบียนราษฎร์เทศบาลตำบลธัญบุรี
7. บทกำหนดโทษ
7.1 ผู้ใดก่อสร้าง ดัดแปลง เคลื่อนย้ายอาคารโดยเจ้าของอาคารไม่ได้รับอนุญาตจากเทศบาล หรือผู้ใดก่อสร้างดัดแปลง รื้อถอนอาคาร ให้ผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต ตลอดจนเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ใน ใบอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.2 ผู้ใดได้รับคำสั่งจากเทศบาลฯ และฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว นอกจากต้องระวางโทษปรับตามข้อ 1 แล้วยังต้องระวางโทษปรับอีกวันละไม่เกิน 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
7.3 ถ้าเป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม การศึกษา หรือสาธารณสุข หรือเป็นการกระทำในทางการค้าเพื่อให้เช่าหรือซื้อขาย หรือจำหน่าย โดยมีค่าตอบแทน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับเป็นสิบเท่าของโทษที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดนั้น ๆ หรือทั้งจำทั้งปรับ
7.4 การปลูกสร้างโดยต่อเติม หรือดัดแปลงอาคาร ซึ่งจำต้องได้รับอนุญาตนั้นมีกำหนด ดังต่อไปนี้
- ขยายพื้นชั้นหนึ่งชั้นใดตั้งแต่ 5 ตารางเมตร
- เปลี่ยนหลังคา หรือขยายหลังคาให้ปกคลุมเนื้อที่มากขึ้นกว่าเดิม
- เพิ่ม ลดจำนวน หรือเปลี่ยนเสา คาน บันได และผนัง