
Super User
การแจ้งเกิด
เมื่อมีคนเกิดต้องแจ้งชื่อคนเกิดให้ถูกต้องตามหลักการตั้งชื่อบุคคล พร้อมกับการแจ้งการเกิด
* คนเกิดในบ้านให้เจ้าบ้านหรือบิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดในบ้าน ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด
* คนเกิดนอกบ้าน
ให้บิดาหรือมารดาแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่ที่มีคนเกิดนอกบ้านหรือแห่งท้องที่
ที่จะพึงแจ้งได้ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันเกิด ในกรณีจำเป็นไม่อาจแจ้งได้ตามกำหนด ให้แจ้ง
ภายหลังได้แต่ต้องไม่เกินสามสิบวัน นับแต่วันเกิด
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนผู้แจ้ง
3. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)]
ขั้นตอนในการติดต่อ
1.ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่เด็กเกิด
2.นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานกับทะเบียนบ้าน และลงรายการในสูติบัตรแล้วเพิ่มชื่อเด็กในทะเบียนบ้านและ สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน แล้วมอบสูติบัตรตอนที่ 1 และสำเนาทะเบียนบ้านคืนให้กับ ผู้แจ้ง
การแจ้งเกิดเกินกำหนด หลักเกณฑ์
เป็นการแจ้งเกิดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งเมื่อพ้นเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ (15 วัน) ตามกฎหมาย
มีบทกำหนดโทษ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
1. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
2. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้แจ้ง บัตรประจำตัวประชาชนของบิดา มารดา (ถ้ามี)
3. พยานบุคคลที่ให้การรับรอง และบัตรประจำตัวประชาชน
4. รูปถ่ายของบุคคลที่ขอแจ้งการเกิด 1 รูป (กรณีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์)
5. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล (ถ้ามี)
ขั้นตอนในการติดต่อ
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่เด็กเกิด
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานแล้วเปรียบเทียบคดีความผิดและสอบสวนผู้แจ้ง บิดามารดา
ให้ทราบสาเหตุ ที่ไม่แจ้งการเกิดภายในกำหนด ในกรณีบิดาหรือมารดาไม่อาจมาให้ถ้อยคำใน
การสอบสวนได้ ไม่ว่าจะด้วยกรณีใด นายทะเบียนจะบันทึกถึงสาเหตุดังกล่าวไว้
3. นายทะเบียนนำเสนอนายอำเภอแห่งท้องที่พิจารณาอนุมัติออกสูติบัตร และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน
เปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารทะเบียนราษฎรฯ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารการทะเบียนราษฎร
เอกสารการทะเบียนราษฎร ได้แก่ ทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สูติบัตร และทะเบียนคนเกิด มรณบัตร และทะเบียนคนตาย ใบแจ้งการย้ายที่อยู่เอกสารการทะเบียนราษฎรที่นายทะเบียนมอบให้ประชาชนเก็บรักษาและใช้เป็นหลักฐาน คือ สูติบัตร มรณบัตร สำเนา ทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
หลักเกณฑ์
เอกสารการทะเบียนราษฎร ที่นายทะเบียนหรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากนายทะเบียน จัดทำขึ้นหากจำเป็น ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงใหม่ จะเป็นเพราะเขียนผิดหรือผิดพลาดเพราะเหตุอื่นใดก็ตาม จะลบ ขูด หรือทำด้วย ประการใด ๆ ให้เลือนหายไปไม่ได้ แต่ให้ใช้วิธีขีดฆ่าคำหรือข้อความเดิม แล้วเขียนคำหรือข้อความที่ถูกต้องแทน ด้วยหมึกสีแดง พร้อมทั้งลงชื่อนายทะเบียนและวันเดือนปี กำกับไว้
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการ มี 3 กรณี
1. กรณีที่มีเอกสารราชการมาแสดง ไม่ว่าเอกสารนั้นจะจัดทำก่อนหรือหลังการจัดทำ ทะเบียนราษฎร เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน หรือทะเบียนบ้านฉบับปี พ.ศ. 2499 , พ.ศ. 2515 หรือ ฉบับปี พ.ศ. 2526 หรือใบสำคัญ การเปลี่ยนชื่อตัว หรือชื่อสกุลหรือหลักฐานการสมรส หรือการหย่า เป็นต้น
2. กรณีไม่มีเอกสารราชการมาแสดง
3. กรณีแก้ไขรายการสัญชาติ
ผู้มีหน้าที่แจ้ง ได้แก่ เจ้าบ้าน บิดามารดา ผู้ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้านหรือผู้ที่เป็น เจ้าของประวัติสถานที่ยื่นคำร้องขอแก้ไขรายการ
1. การแก้ไขรายการในทะเบียนบ้าน สำเนาทะเบียนบ้าน สูติบัตร และมรณบัตร ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียน อำเภอหรือสำนัก ทะเบียนท้องถิ่นแห่งท้องที่ที่ผู้นั้นมีชื่อในทะเบียนบ้าน
2. การแก้ไขรายการในทะเบียนคนเกิด ทะเบียนคนตาย และใบแจ้งการย้ายที่อยู่ ให้ยื่นคำร้องที่สำนักทะเบียน ท้องที่ที่จัดทำทะเบียนคนเกิดห รือทะเบียนคนตาย หรือใบแจ้งการย้ายที่อยู่
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ กรณีที่มีเอกสารราชการมาแสดง
1. เอกสารราชการที่มาแสดงประกอบหลักฐานในการแก้ไขรายการ
2. บัตรประจำตัวผู้แจ้ง (เจ้าบ้านหรือเจ้าของประวัติหรือบิดามารดา)
3. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
4. สูติบัตร หรือ มรณบัตร
ขั้นตอนในการติดต่อ
1. ผู้แจ้งยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานเห็นว่าเอกสารเชื่อถือได้ แก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการใน เอกสาร การทะเบียนราษฎรให้ตรงกับ
หลักฐาน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน สูติบัตร หรือมรณบัตร คืนผู้แจ้ง
กรณีไม่มีเอกสารราชการมาแสดงขั้นตอนในการติดต่อ
1. ผู้ร้องยื่นคำร้องพร้อมหลักฐานบัตรประจำตัวประชาชน
2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
3. พยานบุคคลและบัตรประจำตัวประชาชน
4. พยานหลักฐานต่าง ๆ ที่มี
5. นายทะเบียนสอบสวนพยานหลักฐานและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือ แล้วรวบรวมเสนอ นายอำเภอพร้อมด้วย ความเห็นเมื่อ
นายอำเภอเห็นว่าพยานหลักฐานดังกล่าวเชื่อถือได้ นายอำเภอจะอนุมัติ แล้วสั่งนายทะเบียนให้แก้ไข เปลี่ยนแปลงรายการ
ในเอกสารการทะเบียนราษฎรให้
กรณีการแก้ไขสัญชาติ
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการเกี่ยวกับสัญชาติ มี 2 กรณี คือ
1. กรณีแก้ไขจากสัญชาติอื่นหรือไม่มีสัญชาติ เป็นสัญชาติไทย ให้เสนอ นายอำเภอพิจารณา อนุมัติ (เป็นอำนาจเฉพาะตัวนายอำเภอ)
2. กรณีแก้ไขจากสัญชาติไทย หรือสัญชาติอื่นหรือไม่มีสัญชาติ เป็นสัญชาติอื่น นายทะเบียนอำเภอหรือ นายทะเบียนท้องถิ่นเป็นผู้
พิจารณาอนุมัติ
ขอมีบัตรประจำตัวประชาชน
กรณีขอมีบัตรครั้งแรกหลักเกณฑ์ผู้มีสัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ต้องขอมีบัตรประจำตัวประชาชนหากไม่ไปขอมีบัตรภายใน 60 วัน จะถูกปรับไม่เกิน 500 บาทยื่นคำขอที่อำเภอ กิ่งอำเภอ เขต หรือเทศบาลที่ตนมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมแต่อย่างใด โดยยื่นหลักฐานดังนี้สำเนาทะเบียนบ้านแสดงหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกันผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านกรณีเป็นบุตรบุคคลต่างด้าว ต้องมีหนังสือสำคัญประจำตัวบุคคลต่างด้าวของบิดามารดาแสดงด้วยกรณีไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองกรณีบัตรเติมหมดอายุเมื่อบัตรหมดอายุ ผู้ถือบัตรต้องขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเติมหมดอายุโดยเสียค่าธรรมเนียม หากไม่ขอมีบุตรภายในกำหนด 60 วัน จะถูกปรับไม่เกิน 200 บาทหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านบัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุกรณีบัตรหายหรือบัตรถูกทำลายเมื่อบัตรหายหรือบัตรถูกทำลายให้แจ้งความในท้องที่ที่เกิดเหตุ ดังนี้
เขตกรุงเทพมหานคร แจ้งความต่อสถานีตำรวจ
ต่างจังหวัด แจ้งความที่อำเภอ กิ่งอำเภอ เทศบาล แจ้งที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นหรือสถานีตำรวจภูธร ให้ยื่นเรื่องขอมีบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหายหรือถูกทำลาย หากเลยกำหนดจะเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาหลักฐานการแจ้งความบัตรหาย
- นำหลักฐานอื่นที่ทางราชการออกให้ไปด้วย (ถ้ามี) เช่น ใบเกิด ใบสุทธิ หรือสำเนาภาพถ่ายบัตรเดิมที่สูญหาย
- เสียค่าธรรมเนียม 20 บาทหากค้นหาหลักฐานเดิมที่เคยทำบัตรเก่าไม่พบ ต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ญาติพี่น้องไปรับรองด้วย
กรณีบัตรเดิมชำรุด หากบัตรเดิมชำรุด เช่น ไฟไหม้บางส่วน ถูกน้ำเลอะเลือน ให้ขอเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน
หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- บัตรเดิมที่ชำรุด
- หลักฐานที่ทางราชการออกให้ (ถ้ามี) เช่น ใบขับขี่, หนังสือเดินทาง เป็นต้น
- เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
หากบัตรชำรุดมากจนไม่สามารถใช้พิสูจน์ตัวบุคคลได้ ต้องนำเจ้าบ้านหรือผู้ที่เชื่อถือได้ เช่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ญาติพี่น้องไปรับรองด้วย
กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือสกุลหากเปลี่ยนชื่อตัวสกุลให้ยื่นเรื่องขอเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขหรือสกุลในทะเบียนบ้าน หากไม่ยื่นภายในกำหนดต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 200 บาท
หลักฐาน
- สำเนาทะเบียนบ้านบัตรฯ เดิม
- ใบสำคัญการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลเสียค่าธรรมเนียม 20 บาท
ผู้บริหารเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
ผู้บริหารเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
หัวหน้าส่วนการบริหาร
หัวหน้าส่วนการบริหาร
สมาชิกสภาเทศบาล เขต3
สมาชิกสภาเทศบาล เขต3
สมาชิกสภาเทศบาล เขต2
สมาชิกสภาเทศบาล เขต2
สมาชิกสภาเทศบาล เขต1
สมาชิกสภาเทศบาล เขต1